เมนูไมโตรเวฟ


          หลายคนอาจจะยังเข้าใจผิดอยู่ว่าเตาอบไมโครเวฟ (Microwave) นั้นมีประโยชน์เพียงใช้อุ่นอาหารเท่านั้น บางครั้งอุ่นออกมาแล้วได้ความอร่อยที่ไม่เหมือนเดิม แห้ง และแข็งกระด้าง แต่จริง ๆ แล้วเตาอบไมโครเวฟนั้นสามารถทำอาหารจานด่วนให้คุณได้รับประทานได้ง่าย ๆ ทั้งต้ม ตุ๋น อบ ย่าง ทอด และอีกมากมาย สามารถรักษาเวลาในสภาวะที่เวลาเป็นเงินเป็นทองเช่นนี้ให้คุณได้เป็นอย่างดี

          วันนี้เราจึงได้รวบรวมความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับไมโครเวฟมานำเสนอ พร้อมทั้งเคล็ดลับการปรุงอาหารกับไมโครเวฟที่ถูกต้อง


   หลักการปรุงอาหารของไมโครเวฟ
          
          การทำอาหารด้วยวิธีการปกติ เช่น การใช้เตาอบ หรือกระทะ ความร้อนนั้นจะผ่านไปยังอาหารอย่างสม่ำเสมอ แต่การทำอาหารด้วยไมโครเวฟนั้นความร้อนเกิดจากการคลื่นไมโครเวฟสามารถลงลึกในเนื้ออาหารได้ประมาณ 1-2 นิ้วเท่านั้น หากเป็นชิ้นเนื้อที่หนาอาจจะสุกไม่ทั่ว เพราะฉะนั้นหลังจากอบครบเวลาแล้วต้องทิ้งไว้ประมาณ 1/3 ของเวลาที่ใช้จริงเพื่อให้ความร้อนยังขึ้นสูงสุดต่อไปจนอาหารสุก

   ระดับความร้อนกับการปรุงอาหารแต่ละประเภท

          ระดับความร้อนของเตาไมโครเวฟส่วนมากจะมี 5 ระดับคือ

  
  ไฟแรง (High) 750 วัตต์ 

          จะช่วยให้อาหารสุกอย่างรวดเร็ว เหมาะกับการปรุงอาหารแบบต้ม นึ่ง ผัด และแกง สามารถใช้ในการปรุงอาหารประเภทปลา เบคอน ผักต่าง ๆ อุ่นอาหาร เครื่องดื่มให้ร้อน และลายเนยและเนื้อวสัตว์

    ไฟแรงปานกลาง (Medium High) 650 วัตต์ 

          เหมาะกับการปรุงอาหารแบบอบ ปิ้ง ย่าง ผัด นึ่ง แกง ต้มให้เดือด และอุ่นอาหารที่สุกแล้วให้ร้อน เช่น อุ่นขนมปัง ไก่ย่าง หมูย่าง และปรุงอาหารประเภทที่มีส่วนผสมของเนยแข็ง

    ไฟปานกลาง (Medium) 500 วัตต์

          เหมาะกับการปรุงอาหารประเภท ซุป ต้ม นึ่ง เคี่ยว ตุ๋น อาหารประเภทสเต็ก ข้าว ต้มไข่ ละลายน้ำแข็ง และอาหารที่แช่แข็ง

    ไฟอ่อนปานกลาง (Medium Low) 400 วัตต์
    
           ใช้ละลายอาหารสดแช่แข็งโดยยังคงสภาพสดไว้เช่นเดิม และไม่เสียคุณค่าทางอาหาร ใช้เคี่ยว หรืออุ่นอาหารบางประเภทเท่านั้น และตุ๋น หรือนึ่งอาหารที่สุกง่าย 

    ไฟอ่อน (Low) 200 วัตต์

          ใช้สำหรับอุ่นอาหารที่ไม่ต้องการให้อาหารร้อนจัดเกินไป ทำให้รสชาติและสีสันของอาหารสดกว่าการอุ่นอาหารจากเตา เพราะสามารถปรับระดับความร้อนที่เหมาะสมกับชนิดของ อาหารได้ตามที่ต้องการ

   เคล็ดไม่ลับกับไมโครเวฟ

    การอุ่นอาหารควรอุ่นจนกว่าตรงกลางของภาชนะร้อน

    หั่นวัตถุดิบให้มีชิ้นที่เท่า ๆ กันก่อนนำเข้าเตาไมโครเวฟ

    เรียงอาหารให้ชิ้นใหญ่อยู่ริมเนื่องจากจะได้รับความร้อนมากกว่าตรงกลาง

    ครอบ หรือปิดอาหารด้วยภาชนะทนความร้อน และต้องระบุว่าสามารถนำเข้าเตาไมโครเวฟได้เพื่อทำให้อาหารสุกเร็วขึ้น

    ควรใช้ภาชนะในการปรุงอาหารที่เป็นกระเบื้อง ภาชนะแก้วทนไฟ เครื่องเคลือบเซรามิก หรือเครื่องปั้นดินเผา เพื่อจะได้ไม่กระทบต่อระบบการทำงานของคลื่นไมโครเวฟ

    ควรใช้ภาชนะที่เป็นกระดาษก็ต่อเมื่อต้องการอุ่นอาหารที่ไม่ใช้ความร้อนมาก และอาหารที่ไม่มันมาก

    ภาชนะที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น ภาชนะโลหะ ภาชนะที่เคลือบโลหะ หรือมีขอบเป็นโลหะ เงิน ทอง อะลูมิเนียมฟลอยด์ ภาชนะประเภทไม้ และแก้ว

    วิธีทดสอบว่าอาหารสุก เช่น น้ำจากเนื้อไม่เป็นสีเลือด เนื้อปลาแกะออกจากภาชนะได้ง่าย ไข่สุกโดยไม่เป็นวุ้น หรือใช้ปรอทสำหรับวัดอุณหภูมิ เป็นต้น

    ความร้อนจากการอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟนั้นไม่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และไม่สามารถทำลายสารพิษในอาหารได้

    หมั่นพลิก คน หรือจัดอาหารใหม่ เพื่อให้ได้รับความร้อนอย่างทั่วถึง

    การอุ่นขนมปังต่างๆ ให้นำกระดาษชำระแผ่นใหญ่ชุบน้ำให้ชื้นวางลงบนขนมปังที่ต้องการอุ่นก่อนนำเข้าไมโครเวฟ

    การอุ่นพิซซ่า และแซนด์วิช เปิดน้ำรดลงบนพิซซ่าส่วนที่แข็งเล็กน้อย หรือวางกระดาษชำระแผ่นใหญ่ลงบนจานที่จะนำเข้าไมโครเวฟได้ จากนั้นวางพิซซ่าลงไป ส่วนแซนด์วิชก็เพียงแค่พรมน้ำไม่กี่หยดลงไปก่อนนำเข้าไมโครเวฟ

    การทำให้บะหมี่ และข้าวให้ดูสดใหม่ เพียงเติมน้ำเล็กน้อยก่อนนำเข้าไมโครเวฟ 

    การอุ่นกาแฟที่ไม่เคยผ่านการต้มจนเดือด เพียงเติมน้ำลงไปเล็กน้อยเพื่อลดความขม และนำเข้าไมโครเวฟ 

    เมื่อไมโครเวฟมีกลิ่นเหม็นให้ใช้น้ำมะนาวหนึ่งลูกผสมน้ำเปล่าหนึ่งแก้ว แล้วนำไปเข้าเตาไมโครเวฟ เปิดเตาทิ้งไว้ประมาณ 2 นาที

No comments:

Post a Comment